สารสนเทศ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ
ตัวเรา
ความหมายทางวิชาการ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
ความคิด ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้
การจำแนกประเภทของสารสนเทศ
สามารถจำแนกได้ตามแหล่งและตามสื่อที่จัดเก็บดังนี้
1
สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ
2สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
การจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ
ดังนี้
1 แหล่งปฐมภูมิ
(Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ
สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
3 แหล่งปฐมภูมิ (Tertiary Source) คือ
สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
จะไม่ได้เนื้อหาสาระโดยตรง
แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะวิชา
การจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกสารสนเทศ
ได้แก่
1 กระดาษ
เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกสารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก
รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2 วัสดุย่อส่วน
เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น
มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้นฉบับ เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์
เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก
เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก
สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิทัล เช่น
เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
4. สื่อแสงหรือสื่อออปติก
เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี
เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง
แหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา
โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการให้บริการสารสนเทศ
และส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่าง ๆ กัน
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน
หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา
รวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้ จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ห้องสมุด
ศูนย์สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์
เป็นต้น
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่
หมายถึง แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง
หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่ เช่น
ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม ฟาร์มจระเข้ เมืองโบราณ เป็นต้น
แหล่งประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง
เพราะบุคคลจะได้รับประสบการณ์ตรง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ส่วนข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศประเภทนี้คือ
สถานที่บางแห่งอยู่ไกล
การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมาก
แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่
ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่าง
ๆ
ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ
ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญประเภทหลังนี้ต้องไปพบปะ สนทนา
หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น นักบวช กวี
ศิลปิน นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่
กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา
ในปี พ.ศ. 2516 พฤษภาทมิฬ การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่าง
ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน
ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ทีเป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร
โดยเน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง
ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต
เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เองจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน
รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่าง ๆ
ได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงานของตนเป็นจำนวนมาก อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้า
ทรัพยากรสารสนเทศ
หมายถึง วัสดุหรือสื่อ ( Media) ที่ใช้ถ่ายทอดสารสนเทศ
ความหมายเช่นเดียวกับคำว่า
วัสดุสารสนเทศ (Information Material)
และสื่อสารสนเทศ (Information Media)
วัสดุสารสนเทศ (Information Material)
และสื่อสารสนเทศ (Information Media)
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronics
media)
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม
การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม
หรือมัลติมีเดีย (Multimedia)
สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีหลายลักษณะ ดังนี้
ฐานข้อมูล (Database)
คือมวลสารสนเทศที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
มักจัดเก็บสะสมไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปของแฟ้มข้อมูล
มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานได้หลายๆ ด้าน
แ 1.
ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline
Database)
- ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเอง (In-house Database)
- ฐานข้อมูลซีดีรอม (CD-ROM)
2. ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)
ฐานข้อมูลออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
ได้แก่
Dissertation Abstracts Online (DAO) : วิทยานิพนธ์ทั่วโลก
LexisNexis : กฎหมายและธุรกิจ
H.W. Wilson : ทุกสาขาวิชา
IEEE : วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
ABI/Inform : บัญชีและบริหารธุรกิจ
Science Direct : วิทยาศาสตร์
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยของ TIAC
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น