วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557



เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์ และมัลติมีเดีย กอปรกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ 1.2เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, 4) 1)ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำสำรอง -อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) -อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล -หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล -หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล -หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต 2) ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ -โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเช่นUNIX,DOS, MicrosoftWindows -โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) -โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ -ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น -ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ -ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับกระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ จะเริ่มด้วยการคัดเลือก การจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ ซึ่งกระบวนการจัดการหรือจัดทำสารสนเทศเพื่อให้สามารถผลิตสารสนเทศสนองความต้องการของผู้ใช้ได้นั้น จะประกอบด้วยกรรมวิธี 3ประการ คือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล และกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกัน


1.2เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) ตัวอย่าง เช่น การส่งข้อมูลต่าง ๆ ของยานอวกาศที่อยู่นอกโลกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์บนโลก เพื่อทำการคำนวณและประมวลผล ทำให้ทราบปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder)


นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ 2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ 4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม6) เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม ไร้พรมแดนหรือสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization) ไว้มากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet), ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway), ระบบทีวีตามความต้องการ (Video On Demand), การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conference), พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce), ระบบการเรียนทางไกล (Tele Education), โทรเวช (Tele Medicine), ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ไปรษณีย์ภาพ (Video Mail), โทรทัศน์แบบมีการโต้ตอบ (Interactive TV), ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library), ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)เป็นต้น (รอม หิรัญพฤกษ์ 2544: 254-256)

2.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร ซึ่งจะหมายรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสาร รายละเอียดของวิวัฒนาการของแต่ละเทคโนโลยีสามารถศึกษาได้จากรูปภาพต่อไปนี้




เมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในยุคต่าง ๆ แล้ว ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


สารสนเทศ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
ความหมายทางวิชาการ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้
การจำแนกประเภทของสารสนเทศ สามารถจำแนกได้ตามแหล่งและตามสื่อที่จัดเก็บดังนี้
1 สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ 
2สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
การจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ ดังนี้
1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source)  คือ  สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source)  คือ  สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
3 แหล่งปฐมภูมิ (Tertiary Source)  คือ  สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะไม่ได้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะวิชา
การจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกสารสนเทศ ได้แก่
1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกสารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้นฉบับ เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิทัล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
4. สื่อแสงหรือสื่อออปติก เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
แหล่งสารสนเทศ  หมายถึง  แหล่งที่เกิด  แหล่งที่ผลิต  หรือที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ  ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา  โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการให้บริการสารสนเทศ และส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่าง ๆ กัน
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึง  สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ  จัดหา  รวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้ จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์ เป็นต้น
แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ หมายถึง  แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่ เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม ฟาร์มจระเข้ เมืองโบราณ เป็นต้น  แหล่งประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง เพราะบุคคลจะได้รับประสบการณ์ตรง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก  ส่วนข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศประเภทนี้คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมาก
แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ  ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง  แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ไม่มีผลงานในลักษณะของวัสดุสารสนเทศ  ผู้ต้องการสารสนเทศจากผู้เชี่ยวชาญประเภทหลังนี้ต้องไปพบปะ สนทนา หรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดยตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ เช่น นักบวช กวี ศิลปิน นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา  ในปี พ.ศ. 2516  พฤษภาทมิฬ  การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ทีเป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดยเน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เองจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่าง ๆ ได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงานของตนเป็นจำนวนมาก อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้า





ทรัพยากรสารสนเทศ

หมายถึง วัสดุหรือสื่อ ( Media) ที่ใช้ถ่ายทอดสารสนเทศ
ความหมายเช่นเดียวกับคำว่า
วัสดุสารสนเทศ  (Information Material)
และสื่อสารสนเทศ (Information Media)
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronics media)
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia)
สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีหลายลักษณะ ดังนี้
ฐานข้อมูล (Database)
คือมวลสารสนเทศที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน มักจัดเก็บสะสมไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปของแฟ้มข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานได้หลายๆ ด้าน
1. ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database)
- ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเอง (In-house  Database)  - ฐานข้อมูลซีดีรอม (CD-ROM) 
2. ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database)
ฐานข้อมูลออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ได้แก่
Dissertation Abstracts Online (DAO) : วิทยานิพนธ์ทั่วโลก
LexisNexis : กฎหมายและธุรกิจ
H.W. Wilson : ทุกสาขาวิชา
IEEE : วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์
ABI/Inform : บัญชีและบริหารธุรกิจ
Science Direct  : วิทยาศาสตร์
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยของ TIAC

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

สิ่งที่สนใจ ดาวกระดาษ


ดาวกระดาษ


เพื่อนๆเคยพับดาวกระดาษให้ใครไหม ?

การพับดาวกระดาษมีความหมายว่ายังไง?

บางคนบอกว่าพับ 1000 ดวงแล้วจะสมหวังเรื่องความรัก  มักจะเป็นสื่อแทนความรู้สึก ๆ ดี ๆ ที่คนคนหนึ่งตั้งใจพับ เก็บ สะสม กรีดกระดาษเป็นเส้น ๆ พับดาว และก็บีบจับมุม ไม่ให้บุบ บิดเบี้ยว ทีละเล็กละน้อย เพื่อจะมอบให้กับคนที่เราชอบ...

ส่วนบางคนก็บอกว่าพับแล้วจะได้อะไรขึ้นมา

สำหรับเรานะเราว่า มันเป็นการบ่งบอกถึงความรักของเราที่มีให้เขาอย่างนับไม่ถ้วนเหมือนดาวบนฟ้า คือความรู้สึก ความตั้งใจ และความอดทน  เพราะเราเลือกกระดาษมาแล้วตัดวัดเอาเอง ไม่ได้นึกว่ามันจะสวยรึจะออกมาดูดีแค่ไหน ไม่ได้นึกถึงจำนวนและความหมาย เพราะสิ่งที่ทำให้มันออกจากความรู้สึกทั้งหมดที่มี คือความทุ่มเทและการใส่ใจทั้งหมดที่จะมอบให้ได้ ไม่รู้ว่าคนรับจะว่ายังไง ถึงเขาจะไม่รักเรา หรืออาจรักเราไม่ได้ และเราก็เชื่อว่า อย่างน้อยเขาก็ต้องดีใจมีความสุขที่มีคนทำแบบนี้ให้ แค่เราเห็นคนที่เรารักมีความสุขก็พอแล้วไม่ใช่หรือ แม้เราเคยคิดว่าอยากมีเขาในอนาคตร่วมกับเรา แต่ มันคงไม่มีโอกาสนั้นแล้ว ไม่มีแล้ว แต่สิ่งที่ทำแค่อยากให้สิ่งที่เราทำกับคนที่เรารักแค่นั้นก็พอ

หยิบกรรไกร...ขึ้นมา

ตัดกระดาษสีข้างหน้า...ทีละเส้น

บรรจงพับดาวอย่างใจเย็น

ไว้เป็นสิ่งแทนใจให้คนสำคัญ

 

ที่รัก...เธอรู้ไหม

หากกรรไกร...คือความฝัน

กระดาษสีคือความหวังดีต่อกัน

ใจที่คงมั่นฉันจึงพับดาวออกมา

 

ดาวแต่ละดวงมีความหมาย

อันมากมาย...ล้ำค่า

อาจจะดูเล็กน้อย...ด้อยราคา

แต่ว่าฉันทำด้วยหัวใจ

 

ดาวแต่ละดวง...เกินเอ่ย

และเฉลยคุณค่า...ว่ามีแค่ไหน

มันคงยาก...หากพับให้ใคร

แล้วเขาไม่...ไม่เลย...ไม่เคยซึ้งค่าของมัน

และสุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า

.. การจากไปใช่ว่าจะลืม ..

อยากบอกว่า ... ความรู้สึกดีดียังคงมีให้กันเสมอ

.. ไม่ว่าเธอจะอยู่ที่ไหนก็จะมีฉันอยู่ข้างข้างเธอ ..

... ทุกอย่างจะอยู่ในความจำตลอดไป ...

อ้างอิงhttp://www.thaipoem.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A1/38782

 

แนะนำตัวค่าา


  • นางสาว พรทิพย์.   ใจธรรม   
  • ชื่อเล่น น้อง. 
  • กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
  • คณะ สาธารณสุขศาตร์ สาขา โภชณาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร (NSM) 
  • อาหารที่ชอบ ยำปลาหมึก
  • สีที่ชอบ สีม่วง,ชมพู 
  • ชอบเป็ดน้อยยย